>ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาวกนกพร ไชยคำจันทร์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาวกนกพร ไชยคำจันทร์

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำทักทาย

              

       สวัสดีค่ะ

        ชื่อนางสาวกนกพร  ไชยคำจันทร์ ชื่อเล่น เปรียว อายุ 19 ปี  รหัสนักศึกษา 554144108
        นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ค.บ 2 หมู่ 2.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    
        มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงค่ะ   บล็อกนี้ดิฉันจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และใช้เป็นสื่อ
        การเรียนการสอนให้สำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
        ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มาเข้าชมไม่มากก็น้อย  ถ้าหากมีข้อบกพร่องใดๆ
        ก็ต้องขออภัยนะค่ะและแสดงความคิดเห็นได้เลยนะค่ะ

                                                 
โครงการสอน


วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา PC54505 3(2-2-5)

(Innovation, Technology and Information in Education)

อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง    ภาคเรียนที่ 1 / 2556




คำอธิบายรายวิชา
              
         ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  นวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา  ที่ส่งเสริมการพัฒนา

คุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่ง

เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ   การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  

ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะ

รับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ

เรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน



วัตถุประสงค์
    
  เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้

1.  อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ  และแนวคิดนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการ
ศึกษาได้
2.  อธิบายบทบาท คุณค่า  ประเภท  และประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
ได้
3.  อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
4.  บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
5.  บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้  การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัย
ได้
6.  วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
7.  ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
8.  ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
9.  ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
10. ประเมินผลนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้

                                    
                                      

       
      เนื้อหาบทเรียน

                หน่วยการเรียนที่ 1  แนวคิด  ทฤษฎี  ความหมาย  ความสำคัญของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและ
สารสนเทศการศึกษา
               หน่วยการเรียนที่ 2  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
               หน่วยการเรียนที่  3  สื่อการเรียนการสอน
               หน่วยการเรียนที่  4  วิธีระบบ
               หน่วยการเรียนที่  5  จิตวิทยาการเรียนการสอน
               หน่วยการเรียนที่  6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
              หน่วยการเรียนที่  7  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
              หน่วยการเรียนที่  8  หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
               หน่วยการเรียนที่  9  สื่อมัลติมีเดีย (Malti-Media)
              หน่วยการเรียนที่  10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน                                        


กิจกรรมการเรียนการสอน
  
    1.  รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการ
สอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face  or  Traditional  Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์
โดยใช้เว็บบล็อก(Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
   2.  เทคนิควิธีสอน
       2.1.  การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน 
      2.2.  การมอบหมายงาน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
      2.3.  การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น 
             -   การซักถาม
             -   การอภิปราย
             -  การทำแบบฝึกหัด
             -  การแสดงผลงาน

           การบูรณาการกับความพอเพียง
                   ความมีเหตุผล
                   ความพอประมาณ
                   ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
                      - เงื่อนไขความรู้  :   รอบรู้    รอบคอบ   ระมัดระวัง
                      -  เงื่อนไขคุณธรรม  :  ซื่อสัตย์   แบ่งปัน 


คุณลักษณะที่พึงประสงค์

     ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่  ความ
ซื่อสัตย์  โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียกา
รสอนทุกขั้นตอน  เช่น 
-  ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
-  มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
-  ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
-  ใฝ่ดี  ใฝ่รู้  สู้งาน
-  มีความคิดสร้างสรรค์
-  มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
 -  สุภาพ  เสรีภาพ  อ่อนน้อม  และให้เกียรติผู้อื่น 


                                                  แหล่งเรียนรู้
                                                 1.  ห้องสมุด
                                                 2.  อินเตอร์เน็ต
                                                 3.  เอกสารประกอบการสอน
                                                 4.  ตัวอย่างเว็บบล็อก
                                                 5.  สื่อของจริง  ของตัวอย่าง
                                                 6.  ชุมชนท้องถิ่น
                                                   
การวัดและประเมินผล

1.  การวัดผล
   1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์)                   10 %
   1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน(รายบุคคล)               10 %
   1.3 เว็บบล็อก(รายบุคคล)                                                                                       20 %
   1.4 เว็บบล็อก(กลุ่ม)                                                                                                20 %
   1.5 การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนนโลยีกับการการเรียนการสอน        20 %
   1.6 สอบปลายภาค                                                                                                 20 %


 2.  การประเมิน
      ระดับคะแนน               80-100              ค่าระดับคะแนน                A
      ระดับคะแนน               75-79                ค่าระดับคะแนน                B+
      ระดับคะแนน               70-74                ค่าระดับคะแนน                B
      ระดับคะแนน               65-69                ค่าระดับคะแนน                 C
      ระดับคะแนน              60-64                 ค่าระดับคะแนน                 C
      ระดับคะแนน              55-59                 ค่าระดับคะแนน                 D
      ระดับคะแนน              50-54                 ค่าระดับคะแนน                  D
      ระดับคะแนน               0-49                  ค่าระดับคะแนน                  E
                 
        

                                       


ความซื่อสัตย์ (integriry)
    เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์
ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และ
ดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร  การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 
มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบราย
บุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

ระดับความซื่อสัตย์
1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
                ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
                หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
               ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
               ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
               ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
               ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
              ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
                รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
                ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
               ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
                ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
                ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
                ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
                ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
                ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
                แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
               นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


  ประโชยน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์

         1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
          2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
          3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
          4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
          5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากความหวาดระแวง
          6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
          7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
          8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
         9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
         10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
         11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
        12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้